หลายๆคนคงเคยสังเกตเห็นอยู่บ่อยๆนะครับ เวลาเราไปเลือกซื้อของกิน พอหันถุงหรือขวดมาทางด้านหลัง เราก็จะพบตารางสีขาว ที่เต็มไปด้วยค่าตัวเลขต่างๆมากมายย
มันมีไว้ทำอะไรกัน แล้วมันมีความหมายว่ายังไง เราจะมาดูกันครับ...
%Thai RDI ถ้าแปลตามความหมายจริงๆก็คือ " Thai Recommended Daily Intakes คือปริมาณสารอาหาร ที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 แคลอรี "
โดยเขาจะกำหนดเป็นสัดส่วนน้ำหนักกรัม ของอาหารที่ควรได้รับต่อวัน ดังนี้ (ส่วนที่ 3)
- คาร์โบไฮเดรต 300 g
- โปรตีน 50 g (คิดตามน้ำหนัก(1g/1kg))
- ไขมันทั้งหมด < 65 g
- ไขมันอิ่มตัว < 20 g
- คอเลสเตอรอล < 300 mg
- ใยอาหาร 25 g
- โซเดียม < 2,400 mg
- วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ มักบอกเป็นค่า % เลย เพราะมีค่าน้อยมากๆ
เราลองมาฝึกอ่านกันดูดีกว่า
ในส่วนที่ 1 นั้น หนึ่งหน่วยบริโภค ก็คือ ปริมาณของผลิตภัณฑ์นั้นที่เขาจะเอามาคิด %RDI ให้เรา
จำนวนหน่วยบริโภค ก็คือ ถ้าเรากินทีละ หนึ่งหน่วยบริโภค เราต้องกินกี่ครั้งถึงจะหมดผลิตภัณฑ์นี้
จำนวนหน่วยบริโภค ก็คือ ถ้าเรากินทีละ หนึ่งหน่วยบริโภค เราต้องกินกี่ครั้งถึงจะหมดผลิตภัณฑ์นี้
อย่างเช่น นม 1000 ml ถ้าให้หนึ่งหน่วยบริโภคเป็น 200 ml ดังนั้น จำนวนหน่วยบริโภคจะ = 5
ในส่วนที่ 2 ช่วงที่ 1 นั้น เป็นพลังงานที่ได้รับต่อ หนึ่งหน่วยบริโภค
วิธีการคิดคือ เขาจะให้ คาร์โบไฮเดรต 1 g นี่ ให้พลังงานทั้งหมด 4 กิโลแคลลอรี่(kcal)
โปรตีน 1 g นี่ ให้พลังงานทั้งหมด 4 กิโลแคลลอรี่(kcal) เช่นกัน
วิธีการคิดคือ เขาจะให้ คาร์โบไฮเดรต 1 g นี่ ให้พลังงานทั้งหมด 4 กิโลแคลลอรี่(kcal)
โปรตีน 1 g นี่ ให้พลังงานทั้งหมด 4 กิโลแคลลอรี่(kcal) เช่นกัน
ส่วนไขมัน 1 g จะให้พลังงานทั้งหมด 9 กิโลแคลลอรี่(kcal) ให้พลังงานสูงสุด
แต่ปกติเขาจะคิดมาให้อยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดเองแต่อย่างใด :)
ในช่วงที่ 2,3 จะเป็น % บอกว่าในหนึ่งหน่วยบริโภคนั้น มีปริมาณสารอาหารเป็นกี่ % ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้กินต่อวัน จะเขียนบอกในแถบ "ร้อยละปริมาณที่แนะนำต่อวัน"
อย่างเช่น
น้ำผลไม้ 200 ml มีใยอาหาร 5 g ดังนั้นจึงเทียบเท่ากับ 20% RDI
มีแคลเซียม 10% RDI แสดงว่าน้ำผลไม้นี้มีแคลเซียม 80 mg (%RDI calcium ประมาณ 800 mg) เป็นต้น
ซึ่งส่วนที่ 2 นี้จะสำคัญมาก เพราะมันจะบอกเราว่า สิ่งที่เรากำลังกินนี้ มีประโยชน์กับเรามากแค่ไหนกัน
แต่ปกติเขาจะคิดมาให้อยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดเองแต่อย่างใด :)
ในช่วงที่ 2,3 จะเป็น % บอกว่าในหนึ่งหน่วยบริโภคนั้น มีปริมาณสารอาหารเป็นกี่ % ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้กินต่อวัน จะเขียนบอกในแถบ "ร้อยละปริมาณที่แนะนำต่อวัน"
อย่างเช่น
น้ำผลไม้ 200 ml มีใยอาหาร 5 g ดังนั้นจึงเทียบเท่ากับ 20% RDI
มีแคลเซียม 10% RDI แสดงว่าน้ำผลไม้นี้มีแคลเซียม 80 mg (%RDI calcium ประมาณ 800 mg) เป็นต้น
ซึ่งส่วนที่ 2 นี้จะสำคัญมาก เพราะมันจะบอกเราว่า สิ่งที่เรากำลังกินนี้ มีประโยชน์กับเรามากแค่ไหนกัน
แล้วพบกันครับ ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แล้วคุณล่ะ...คุณคิดว่าไง?